วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

着地

วันนี้นั่งทำการบ้าน Task 5 revised ของอาจารย์กนกวรรณ พอเขียนมาถึงตอนจบก็มาสะกิดใจ(ไม่ได้เป็นญาติกะพี่ป๋อนะ)ว่าถ้าเราใสข้อความที่เป็นความเห็นของเราลงไปน่าจะทำให้เนื้อเรื่องสนุกขึ้น ยกตัวอย่างเป็นเรื่องที่ส่งอาจารย์ไปเมื่อกี้ละกัน

(前略)そのニュースでは彼女が乗っているはずだった飛行機がエンジンの故障で墜落してしまったんだって。彼女はもしその飛行機に乗っていたら、どうなっているだろうと思ったらしい。乗らなくて本当に良かったとも思ったって。これは不運の幸運と言えるだろうね。

เมื่อก่อนเวลาจะจบก็จะจบแค่ 乗らなくて本当に良かったとも思ったって。ซึ่งแม้แต่ตอนนี้ก็ยังรู้สึกว่ามันโอเค แต่พอลองใส่ส่วนที่เป็นตัวอักษรสีฟ้าที่เป็นความเห็นของเราเองลงไป จุดเด่นของเนื้อเรื่องจะถูกดึงมาสรุปตรงนี้อย่างลงตัว อาจฟังดูเหมือนยกตัวเองแต่นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง แน่นอนว่ามีตัวอย่างที่ดีกว่านี้อีก ซึ่งก็คือ การเล่าเรื่อง 4コマ漫画 ของ 池谷先生

 (前略)その体格のいい女性は平然とわずかな隙間に座ったので、両脇の男性は押されて、苦しそうにしています。特にドアの近くの端の席に座った男性は棒を両手でつかんで痛そうにしています。けっきょく、三太郎はこうして男性たちに仕返しをしたのではないでしょうか

ตัวอย่างนี้ สามารถจบได้ตรงก่อนตัวอักษรสีฟ้า แต่池谷先生กลับเลือกที่จะใส่ส่วนสีฟ้าลงไป เพื่อสร้างอรรถรสของเรื่องราวเพิ่มขึ้น

การจบแบบนี้จะเป็นสไตล์ของญี่ปุ่นมากกว่าไทย นั่นก็คือ 起承転結 นั่นเอง แล้ว 4コマ漫画 ก็ใช้โครงสร้างนี้ในการดำเนินเรื่องด้วยเช่นกัน เพราะเหตุนี้แหละมั้งที่ทำให้เราไม่ค่อยได้นึกถึงและเขียนลงไปในงานของเราเอง

การจบเรื่องแบบนี้ก็เป็นเหมือนกับที่อาจารย์กนกวรรณ และ中山先生 ได้สอนไว้ในแกรมมาร์และการเขียนเรียงความ นั่นก็คือขั้นตอน 着地 ของ ホップ・ステップ・ジャンプ・着地 ดูไปดูมาแล้ว 着地 เป็นจุดเด่นในวัฒนธรรมการสื่อสารของญี่ปุ่น ถ้าเราหัดตรงนี้ให้ได้ก็น่าจะทำให้การสื่อสารของเราสู่ชาวญี่ปุ่นดีขึ้นด้วยก็เป็นได้

บล็อคนี้เขียนสั้นๆ แต่ได้ใจความ(หรือเปล่า)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น