วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

敬語/謙譲語

เมื่อวานเข้าร่วมกิจกรรม 「書き初め」 จัดขึ้นโดย 林先生และ 池谷先生
ถึงแม้ว่าจะเคยเรียนที่ญี่ปุ่นมาบ้างแต่ทำได้ไม่ดีเอาเสียเลย
แต่ก็เป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับนักเรียนทุกคน นอกจากนี้ยังได้พบ 林先生 อีกครั้งด้วย

วันก่อนหน้านั้นได้ส่งอีเมล์ให้ 林先生 และต้องการจะพูดว่า "ดีใจที่จะได้พบอาจารย์อีกครั้ง"
ทีแรกก็นึกถึงคำว่า 再会する แต่ก็รู้สึกว่าไม่น่าจะเหมาะ เลยเปลี่ยนมาใช้คำว่า お目にかかる แต่ก็ยังคงเกิดปัญหาอีกก็คือ ตั้งใจว่าจะใช้เป็นรูป 可能形 เหมือนภาษาไทยที่ว่า "ได้พบ" จึงตัดสินใจเขียนไปว่า "お目にかかれる" เพื่อให้ได้ความหมายที่ต้องการ ตอนนั้นก็ไม่มั่นใจว่าสามารถใช้คำนี้ในรูป 可能形 ได้หรือเปล่า แต่รู้สึกเหมือนเคยเห็นคนญี่ปุ่นใช้มาก่อนเลยใช้คำนี้ไป ตอนนี้ก็คิดว่าคงจะเขียนได้ไม่มีปัญหา

พอถึงวันที่เขียนจริง ก็ได้พบกับ 林先生 ตัวจริงรู้สึกตื่นเต้นมาก จนจำไม่ค่อยได้ว่าตัวเองพูดกับอาจารย์ด้วยภาษาระดับไหนไปบ้าง แต่ที่จำได้มีอยู่เรื่องหนึ่งก็คือ ตอนพักครึ่งเวลาอาจารย์แจกขนมให้นักเรียนทานกันอย่างเอร็ดอร่อย เราก็เห็นว่าอาจารย์ยังไม่ได้ทานมัวแต่ทำอย่างอื่นอยู่ เลยถามอาจารย์ไปว่า

「お召し上がりませんか」
林先生 ก็ตอบกลับมาว่า 「いただこう」
แล้วอาจารย์ก็เดินไปหยิบกล่องขนมมาทาน

ปัญหาก็คือคำที่เราพูดไปนั้น กลับมามองดูอีกทีมันผิดไวยากรณ์ชัดๆ (การใส่おไว้ข้างหน้าคำ)
แต่เรื่องนั้นไม่ติดใจเท่ากับที่เราใช้รูป 「~ませんか」
ที่จริงแล้วในตอนนั้นเราคิดจะพูดว่า 「お召し上がらないんですか?」ยังผิดไวยากรณ์เหมือนเดิมแต่ต่างกันที่ท้ายคำ เราคิดว่ามันอาจจะไม่สุภาพเลยเปลี่ยนมาพูดแบบตัวสีฟ้าข้างบนแทน

ตกลงใน 敬語 ใช้รูป「~ないんですか」ได้หรือเปล่า? และความหมายตากันหรือเปล่า?
ลองมาคิดดูผมว่าความหมายมันต่างกันนิดหนึ่งนะ

「~ませんか」เป็นการเชิญชวนเหมือนที่อ.กนกวรรณได้สอนในห้องไปแล้ว
ในขณะที่「~ないんですか」เป็นคำถามที่ว่า "ไม่กินเหรอ?" ทำนองนี้เสียมากกว่า

การเลือกว่าจะใช้อันไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์และจุดประสงค์ของเรา
ซึ่งสถานการณ์ในตอนที่เราถาม 林先生 เราคิดว่าขนมหมดแล้วจึงยื่นของเราให้อาจารย์แล้วถาม ซึ่งในเชิงไวยากรณ์ของภาษาไม่มีปัญหากับสถานการณ์นี้ สรุปคือน่าจะเลือกใช้ถูกแล้ว

แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ที่เรารู้ว่ามีขนมครบจำนวนคน แล้วจะถามว่า "อาจารย์ไม่ทานหรือ" ก็ต้องใช้「~ないんですか」ส่วนเรื่องความเหมาะสมว่าเป็น敬語แล้วจะใช้รูปนี้ได้หรือไม่นั้นไม่แน่ใจเท่าไร แต่ถ้าเป็นผมผมก็จะใช้

คำต่อมาคือคำว่า 分かる 林先生 ฟังภาษาไทยที่เราพูดกันออกบ้าง เราเห็นดังนั้นเลยถามอาจารย์ไปทันทีว่า 「先生はタイ語が分かるんですか」

ก็มานั่งนึกทีหลังว่าคำว่า 分かる มีคำ 敬語 อะไรบ้าง คำที่โผล่มาในหัวก็มี
「分かられる」「ご存知」 2 คำนี้

คิดไปคิดมา คำว่า「分かられる」น่าจะดีที่สุด เพราะ ご存知 ยังไม่ตรงเท่าไร
คิดไปคิดมามันยากเหมือนกันนะเนี่ย เฮ้อ 敬語/謙譲語

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น