วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

จดหมายรัก

จดหมายรัก

ในห้องเรียน อาจารย์ให้ช่วยกันเขียนจดหมายรักถึงผู้หญิงที่เราต้องการรู้ชื่อของเขา

บอกได้คำเดียวว่ายากมาก
เหตุผลแรก เราไม่เคยเขียนจดหมายรักให้ใครและไม่คิดจะเขียนด้วย

เหตุผลที่ 2 อาจารย์บอกว่าห้ามใช้สำนวนเสี่ยว แต่เฉลยของอาจารย์กลับเสี่ยวกว่าอีก

เหตุผลที่ 3 เราคิดว่าแต่ละคนก็มีสไตล์ในการเขียนจดหมายที่แตกต่างกันไป ให้เขียนด้วยกันมันก็จะออกมาไม่ค่อยดี

เหตุผลสุดท้าย ได้บอกไปในห้องแล้วว่า คนไทยไม่มีวัฒนธรรมการเขียนจดหมายบอกความรู้สึกให้กับผู้หญิงที่เราสนใจ (ถึงแม้จะมีคนที่เขียนบ้างแต่ก็น้อยมาก ๆ ) ถ้าเขียนส่งไปให้กับสาวที่เราหมายตาไว้ล่ะก็ แห้วแน่ ๆ

格助詞 と は/が

พอเฉลยจดหมายเสร็จก็ได้ลองทำแบบฝึกหัดกริยาช่วยสองชุด ชุดแรกเป็น 格助詞 ทำผิดเยอะมาก ผิดประมาณ 6 ข้อเห็นจะได้ บางข้อผิดแบบพอรับได้ แต่บางข้อก็ไม่น่าผิด เช่น ~が分かる แต่เราดันตอบ を แทน ที่ตอบไปอย่างนั้นก็เพราะว่า เราเคยเจอประโยคที่คนญี่ปุ่นใช้ ~をわかる ก็เลยแยกแยะไม่ออกว่าตอนไหนที่ใช้รูปแบบหลังได้

ต่อมาก็ทำแบบฝึกหัดของ は/が ซึ่งผลออกมาก็แย่กว่าเดิม เพราะทำผิดไป 8 ข้อ จะว่าเยอะก็เยอะจะว่าไม่เยอะก็ไม่เยอะ เพราะว่าเราไม่ค่อยมั่นใจกับเรื่องนี้เท่าไหร่ บางครั้งที่เรามั่นใจว่าต้องใช้ は แน่ ๆ กลับกลายเป็น が ที่ถูกต้อง เรื่องอย่างนี้คนญี่ปุ่นยังอธิบายไม่ได้ เราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าประเด็นไหนที่เป็นปัญหาให้เราไม่เข้าใจการใช้ は/が เรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลา ให้เราชินและซึมซับจนเข้าไปอยู่ในสายเลือด ตอนนั้นคงจะดีขึ้น

กริยาช่วยเป็นสิ่งที่ไม่มีในภาษาไทย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจของคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่น

ぼかし表現

เป็นสำนวนแบบนี้ที่ทำให้สารที่เราส่งไปเบลอ ๆ หมายความว่า ไม่สื่อไปตรง ๆ แต่พูดให้อ้อมนิด ๆ เลี่ยงคำหน่อย ๆ คนญี่ปุ่นที่อายุมากมักใช้เพื่อความสุภาพ เช่น あなたはおいくつですか。ไม่ถามว่า あなたは何歳ですか。จะเห็นได้ว่าสำนวนนี้เป็นการทำให้สุภาพมากขึ้นโดยการเลี่ยงไม่ใช้คำว่า "อายุ"

ในขณะที่วัยรุ่นมักจะใช้เพื่อความแปลกใหม่ แฟชั่น หรือการเลี่ยงการรับผิดชอบคำพูดของตน เช่น これ絶対いいかも。 ทั้ง ๆ ที่พูดว่า 絶対 แต่กลับเติมคำว่า かも ลงไปด้วย

เท่าที่เจอมาตอนที่อยู่ปุ่นเพื่อน ๆ จะใช้ ぼかし表現 เยอะมาก จนบางครั้งไม่แน่ใจว่าเขาต้องการสื่ออะไรกันแน่

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การย่อหน้า

วันแรกในวิชาการเขียน อาจารย์อิไมให้เขียนเรื่องชีวิตในญี่ปุ่นเป็นจำนวน3หน้า

พอเขียนเสร็จส่งไป อาจารย์ก็ส่งฟีดแบคกลับมาว่า การย่อหน้าของเรามันตลก
อาจารย์บอกว่า เราย่อหน้าถี่เกินไป เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน ควรอยู่ในย่อหน้าเดียวกัน
แต่ความรู้สึกของเรา คิดว่ามันอยู่คนละเนื้อหาแล้ว ย่อหน้าไปก็ไม่เห็นแปลกอะไร

เช่นตัวอย่างต่อไปนี้

ย่อหน้า1 寮の手続きが終わった後、私は自分が付属していた「留学生センター」に行き、プレイスメントテストを受けました。そこで、私は上級後という組に置かれました。
ย่อหน้า2 その組によって、登録できる科目が違うのです。私が受けていた科目は以下の通りです。「経済の日本語2」、「文章表現3」、「口頭表現2」、「近代文語文講読」などは受けていました。
ย่อหน้า3 以上述べた色々の科目以外に、もう一つの主ゼミを受けなければなりませんでした。私のゼミは日本語のゼミでした。クラスの進み方は多くの読み物を読み、そこに出てきた単語の意味や使い方を学ぶということでした。

ข้อความ3ย่อหน้าด้านบน อาจารย์อิไมบอกให้เขียนรวมเป็นย่อหน้าเดียว(ตัวอักษรสีเขียวคือที่ผิดไวยากรณ์)

ในความคิดของผมเห็นว่า ย่อหน้าแรกเป็นย่อหน้าที่พูดถึงPlacement Test ซึ่งจบที่ผลสอบ
ย่อหน้าที่2 เป็นย่อหน้าที่พูดถึงวิชาที่เราลงทะเบียนเรียน
ส่วนย่อหน้าที่3 เป็นย่อหน้าที่พูดถึงวิชาสัมมนา(ゼミ) ว่าเป็นวิชาแบบไหน ทำอะไรบ้าง

อาจเป็นเพราะโครงสร้างที่เราคิดในหัวไม่ตรงกับโครงสร้างการเขียนของภาษาญี่ปุ่นหรือเปล๋า? ทำให้เวลาเขียนออกมาแล้ว คนญี่ปุ่นทำความเข้าใจได้ยากกว่าที่จะเอามารวมเป็ฯย่อหน้าเดียว

แต่เมื่อดูให้ดี จะเห็นว่าทั้งสามย่อหน้ามีความสัมพันธ์กัน คือ ตอนท้ายของย่อหน้าแรกบอกถึงผลสอบว่าอยู่คลาสไหน ต่อมาในตอนเริ่มต้นย่อหน้าที่สองเชื่อมกับย่อหน้าแรกว่า เมื่ออยู่ในคลาสที่ต่างกัน ก็จะเลือกลงทะเบียนเรียนในแต่ละวิชาได้ต่างกัน ส่วนย่อหน้าที่สามก็เชื่อมกับย่อหน้าทื่สองว่า นอกจากวิชาธรรมดาแล้วยังมีวิชาพิเศษที่เด็กไทยไม่คุ้นเคยคือ วิชาสัมมนา

ความสัมพันธ์เหล่านี้ ที่เรียนในวิชาการเขียนภาษาไทยเป็นการเชื่อมระหว่างย่อหน้าที่เหมาะสม คือ ถึงแม้จะเป็นคนละย่อหน้า แต่ก็ควรผูกความให้สัมพันธ์กัน เมื่อผมได้เรียนในวิชาภาษาไทยมาอย่างนี้ มันจึงติดนิสัยจนเอามาใช้กับภาษาญี่ปุ่น แต่ว่ามันไม่เข้ากับโครงสร้างภาษาญี่ปุ่น เรียงความของผมเลยดูตลกสำหรับอาจารย์อิไมไป

วันหลังคงต้องแบ่งสมองเป็นสองส่วน เพื่อจะได้แยกแยะให้ออกว่าอันหนึ่งเป็นการเขียนภาษาไทย อีกอันเป็นการเขียนภาษาญี่ปุ่น

เรื่องการเขียนที่เรามีปัญหายังมีอีก ไว้วันหลังจะมาอัพละกัน

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

それは秘密です

วันนี้ได้พูดคุยเรื่อง それは秘密です ที่อัดเสียงในห้อง
เป็นเรื่องที่น่าอับอายมาก เพราะทำได้ไม่ดีมากๆ ไม่ดีจนอยากจะให้ F ตัวเอง

เรื่อง メタ言語 อาจดูเป็นเรื่องใหม่ แต่ถ้าลองคิดให้ดีแล้ว เวลาพูดภาษาไทยก็จะใช้อยู่บ่อยๆ แต่กลับไม่ใช้เวลาพูดภาษาญี่ปุ่น เช่นคำว่า "แกรู้ป่าวว่าเขาทำไงต่อ...." หรือ "เป็นไงต่อไปรู้ป่ะ" เป็นต้น เพราะเวลาพูดภาษาญี่ปุ่นมัวแต่กังวลกับคำศัพท์และไวยากรณ์ จนไม่มีเวลามานั่งคำนึงถึงメタ言語

วันนี้ได้เรียนรู้การใช้ メタ言語 เวลาสนทนามากขึ้น และหวังว่าตัวเองจะนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ต่อไป

เรื่องต่อมาอการเลือกคำศัพท์ ตอนที่อยู่ญี่ปุ่นเวลาเล่าอะไรให้เพื่อนฟัง คนญี่ปุ่นมักจะช่วยเรา คือ พยายามเข้าใจในสิ่งที่เราเล่า แม้ว่าเราจะพูดผิด ใช้คำผิด หรืคำช่วยผิดก็ตาม ส่งผลมาถึงปัจจุบันที่เวลาเราพูดภาษาญี่ปุ่นเราคิดว่า ไม่ต้องพูดเพอร์เฟคก็ได้ เพราะเดี๋ยวเขาก็ทำความเข้าใจเอาเอง

จนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตอนอัดเสียงที่ไม่มีเพื่อนคอยช่วย เราก็เลยตายคาที่ไปเลย เพราะเราไม่เคยกังวลกับการเลือกใช้คำศัพท์ ทำให้ตอนที่อัด(ซึ่งเรากดดันตัวเองว่าต้องพูดให้ดี)ไม่สามารถตัดสินใจเลือกคำศัพท์ได้ เลยทำให้คำพูดที่เราเล่าออกมาฟังดูตลกและไม่เข้ากับเนื้อหา เช่น จะพูดว่า "เธอก็กังวลมาโดยตลอด" ก็ดันมาเลือกใช้คำว่า 「ずっと不満だった」เมื่อมาอ่านดูทีหลังก็พบว่าความหมายมันไม่ถูกต้อง

นอกจากการเลือกคำศัพท์แล้ว ไวยากรณ์ที่ใช้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ได้เรียนรู้มากมายในวันนี้
ดังที่อาจารย์ได้บอกในชั่วโมงเรียนว่า คนญี่ปุ่นจะใช้受身มากกว่า และยังใช้รูป「~しちゃう」มากด้วยเช่นกัน เนื้อหาที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความร้อนอกร้อนใจของผู้หญิง เมื่อใช้ไวยากรณ์受身จะนำเสนอเนื้อหาได้ตรงและชัดเจนกว่า ผู้รับสารก็เข้าถึงได้ง่ายกว่าเช่นกัน

ส่วนตัวเราเองนอกจากจะไม่ได้ใช้รูป受身แล้ว ยังใช้ไวยากรณ์ธรรมดาๆผิดด้วย

ก่อนจบขอแก้ตัวนิดหนึ่งละกัน คือตอนอัดเสียงมันไม่ได้อารมณ์ว่าเรากำลังคุยให้เพื่อนฟังจริงๆ เลยได้แต่พูดแบบส่งๆ หรือเรียกว่า "ไม่อิน" ก็ได้ ทำให้ผลงานออกมาห่วยแตกสุดๆ

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

フラメンコギター

ในชั่วโมงเรียนของสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจารย์ได้ให้นักเรียนลองเขียนอีเมล์ถึงอาจารย์ที่เปิดสอนフラメンコギターโดยมีข้อมูลมาให้

พอได้อ่านงานของตัวเองก็คิดว่ายังทำได้ไม่ดีพอ และมีจุดบกพร่องอยู่มาก บางทีอาจเป็นเพราะใช้เวลาสั้นในการเขียน แต่ก็มีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เราทำได้ไม่ดีพอ เช่น การที่เราไม่ได้คำนึงถึงสถานภาพและความสัมพันธ์ของผู้อ่านกับผู้เขียน หรือการที่เราตัดสินใจเลือกใช้คำศัพท์ผิดพลาด เป็นต้น

สัปดาห์ที่สอง อาจารย์ให้เขียนใหม่และคอมเมนท์กลับมา ผลที่ออกมาดีขึ้น เมื่อเราได้ฟังคำแนะนำของอาจารย์ในสัปดาห์ก่อน บวกกับได้ฟังสำนวนการเขียนของเพื่อน เราจึงได้แนวทางการเขียนที่ดีขึ้น แต่ละคนก็เขียนต่างกันคนละแบบ เราสามารถเลือกส่วนที่ดีของแต่ละคนมาใช้กับงานของเราได้ การทำแบบนี้ผมว่าเป็นการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาต้องสังเกต และหาทางปรับปรุงข้อบกพร่องของตัวเอง

คราวนี้ลองมาดูงานของตัวเองทั้งหมด 3 ครั้ง
การเขียนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยการนำคำแนะนำของอาจารย์กับตัวอย่างในชีทมาใช้ในงานของตัวเอง และส่วนที่ได้เรียนรู้เยอะเป็นพิเศษก็คือ การเริ่มต้น กับการลงท้ายอีเมล์

ตัวอย่าง
1. คำเริ่มต้น จากการเขียนครั้งแรกที่เริ่มต้นด้วยคำว่าはじめまして。私はアノンと申します。
เปลี่ยนมาเป็น 初めてメールを差し上げるアノンと申します。
2. คำลงท้าย จาก お返事をお待ちしております。よろしくお願いいたします。
เปลี่ยนเป็น お返事は急ぎませんが、どうぞよろしくお願いいたします。
สองสำนวนนี้เรียนรู้มาจากชีทที่อาจารย์แจกให้ เป็นการขึ้นต้นที่ไม่คุ้นเคย และไม่ค่อยได้เห็น
3. การใช้สำนวนการเขียนให้สุภาพเหมาะสมกับสถานะของผู้อ่าน ในการเขียนครังที่สอง ได้ใช้คำว่า
「レッスンはどちらで行われますか」แต่อาจารย์ได้แนะว่าให้ใช้เป็นรูป 「~ますでしょうか」แทน
สำนวนรูปแบบนี้แม้จะรู้จัก แต่ตอนเขียนกลับนึกไม่ถึง ทำให้เมล์ของเรายังไม่ดีพอ

นอกเหนือจากสำนวนการเขียนแล้ว ข้อมูลที่เราตัดสินใจใส่ลงในเมล์ก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน(必要な情報と不必要な情報)
1. เดิมทีเราบอกแต่เพียงอยากจะเล่นフラメンコギターให้เก่งขึ้นเท่านั้น ไม่ได้บอกจุดประสงค์หรือเป้าหมายของเราว่า อยากเก่งไปทำไม ในงานชิ้นต่อมาจึงใส่เพิ่มเข้าไปว่า อยากเป็น 伴奏家
2. ความชัดเจนของข้อมูลที่มากขึ้น งานครั้งที่1 บอกไปเพียงว่า "เรียนフラメンコギターมา5ปี และชอบมันมากราวกับเป็นเพื่อนที่รู้ใจ" ข้อมูลเพียงเท่านี้ไม่สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าความสามารถของเราอยู่ระดับไหน งานชิ้นต่อมาจึงได้ใส่เพ่มลงไปว่า "เรียนมาสัปดาห์ละ1ชั่วโมง เป็นระยะเวลา5ปี"
ทั้งสองข้อนี้ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรับฟังคำแนะนำของอาจารย์ในห้องเรียน ว่าเราควรใส่ข้อมูลอะไร ไม่ควรใส่ข้อมูลอะไรลงไปในอีเมล์

เรื่องสุดท้าย คือการสอบถามข้อมูล
ผมใช้การแบ่งประเด็นที่ต้องการถามเป็นข้อๆ ซึ่งอาจจะมีวิธีการที่ดีกว่านี้ แต่ผมคิดว่ามันทำให้ผู้อ่านอ่านง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม การแบ่งเป็นข้อๆไม่เพียงพอในการสอบถามข้อมูล เพราะเมื่อได้ลองอ่านงานในชีทที่อาจารย์แจก จะเห็นว่าเราต้องบอกข้อมูลของเราให้ผู้อ่านทราบด้วย เขาจะได้ตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไรดี
การเขียนเมล์ในชีทนั้น เป็นการแสดงความจำนงของเราไปว่าเราต้องการเรียน ท่านจะรับเราหรือไม่ให้ตอบมาที ซึ่งผมรู้สึกว่ามันต่างจากจุดประสงค์ของงานเขียนเล็กน้อย เพราะโจทย์ของมันก็คือ
「山内修二さんにメールを送って問い合わせてください」
มันคือการส่งอีเมล์ไปถามข้อมูลเฉยๆ ไม่ใช่การขอเข้าเรียน เพราะถ้ารายละเอียดที่เขาให้มาไม่ถูกใจเรา เราอาจตัดสินใจจะไม่เรียนก็เป็นได้

ดังนั้น ผมคิดว่าวัฒนธรรมเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้เราสับสนว่าจะเขียนเมล์นี้อย่างไร
แต่ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้การเขียนและวัฒนธรรมควบคู่กันไป ประหยัดเวลาดี 2 in 1