วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

จดหมายรัก

จดหมายรัก

ในห้องเรียน อาจารย์ให้ช่วยกันเขียนจดหมายรักถึงผู้หญิงที่เราต้องการรู้ชื่อของเขา

บอกได้คำเดียวว่ายากมาก
เหตุผลแรก เราไม่เคยเขียนจดหมายรักให้ใครและไม่คิดจะเขียนด้วย

เหตุผลที่ 2 อาจารย์บอกว่าห้ามใช้สำนวนเสี่ยว แต่เฉลยของอาจารย์กลับเสี่ยวกว่าอีก

เหตุผลที่ 3 เราคิดว่าแต่ละคนก็มีสไตล์ในการเขียนจดหมายที่แตกต่างกันไป ให้เขียนด้วยกันมันก็จะออกมาไม่ค่อยดี

เหตุผลสุดท้าย ได้บอกไปในห้องแล้วว่า คนไทยไม่มีวัฒนธรรมการเขียนจดหมายบอกความรู้สึกให้กับผู้หญิงที่เราสนใจ (ถึงแม้จะมีคนที่เขียนบ้างแต่ก็น้อยมาก ๆ ) ถ้าเขียนส่งไปให้กับสาวที่เราหมายตาไว้ล่ะก็ แห้วแน่ ๆ

格助詞 と は/が

พอเฉลยจดหมายเสร็จก็ได้ลองทำแบบฝึกหัดกริยาช่วยสองชุด ชุดแรกเป็น 格助詞 ทำผิดเยอะมาก ผิดประมาณ 6 ข้อเห็นจะได้ บางข้อผิดแบบพอรับได้ แต่บางข้อก็ไม่น่าผิด เช่น ~が分かる แต่เราดันตอบ を แทน ที่ตอบไปอย่างนั้นก็เพราะว่า เราเคยเจอประโยคที่คนญี่ปุ่นใช้ ~をわかる ก็เลยแยกแยะไม่ออกว่าตอนไหนที่ใช้รูปแบบหลังได้

ต่อมาก็ทำแบบฝึกหัดของ は/が ซึ่งผลออกมาก็แย่กว่าเดิม เพราะทำผิดไป 8 ข้อ จะว่าเยอะก็เยอะจะว่าไม่เยอะก็ไม่เยอะ เพราะว่าเราไม่ค่อยมั่นใจกับเรื่องนี้เท่าไหร่ บางครั้งที่เรามั่นใจว่าต้องใช้ は แน่ ๆ กลับกลายเป็น が ที่ถูกต้อง เรื่องอย่างนี้คนญี่ปุ่นยังอธิบายไม่ได้ เราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าประเด็นไหนที่เป็นปัญหาให้เราไม่เข้าใจการใช้ は/が เรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลา ให้เราชินและซึมซับจนเข้าไปอยู่ในสายเลือด ตอนนั้นคงจะดีขึ้น

กริยาช่วยเป็นสิ่งที่ไม่มีในภาษาไทย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจของคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่น

ぼかし表現

เป็นสำนวนแบบนี้ที่ทำให้สารที่เราส่งไปเบลอ ๆ หมายความว่า ไม่สื่อไปตรง ๆ แต่พูดให้อ้อมนิด ๆ เลี่ยงคำหน่อย ๆ คนญี่ปุ่นที่อายุมากมักใช้เพื่อความสุภาพ เช่น あなたはおいくつですか。ไม่ถามว่า あなたは何歳ですか。จะเห็นได้ว่าสำนวนนี้เป็นการทำให้สุภาพมากขึ้นโดยการเลี่ยงไม่ใช้คำว่า "อายุ"

ในขณะที่วัยรุ่นมักจะใช้เพื่อความแปลกใหม่ แฟชั่น หรือการเลี่ยงการรับผิดชอบคำพูดของตน เช่น これ絶対いいかも。 ทั้ง ๆ ที่พูดว่า 絶対 แต่กลับเติมคำว่า かも ลงไปด้วย

เท่าที่เจอมาตอนที่อยู่ปุ่นเพื่อน ๆ จะใช้ ぼかし表現 เยอะมาก จนบางครั้งไม่แน่ใจว่าเขาต้องการสื่ออะไรกันแน่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น