วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อีเมล์ถึงอาจารย์

จากหนังสือ "เก่งคีย์อีเมล์ญี่ปุ่น" ของ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) มีตัวอย่างอีเมล์มากมายเกี่ยวกับการเขียนอีเมล์ในรูปแบบและหัวข้อที่หลากหลาย วันนี้ผมอยากแนะนำตัวอย่างการเขียนอีเมล์ขอจดหมายรับรองเพื่อขอทุนการศึกษา

〇〇先生

〇〇・〇〇です。
実はお願いがあって、メールしました。

来年の高田記念財団の奨学金の募集がもうすぐ始まります。来年は卒論でアルバイトができないので応募したいのですが、推薦状が必要だそうです。
できれば、先生に推薦状を書いていただきたいのですが、お願いできないでしょうか。応募の締め切りは来月15日だそうです。

もし引き受けていただけるようでしたら、先生の研究室へ資料を持って伺います。

お忙しいところ申し訳ありませんが、どうぞよろしくお願いいたします。

〇〇・〇〇

จากตัวอย่างข้างต้นจะแตกต่างจากรูปแบบที่ผมเขียนเป็นประจำก็คือ
1. ผมจะเขียน お忙しいところ申し訳ありません ไว้ด้านบนหลังจากแนะนำตัวเอง
2. มีคำหลายคำที่น่าจะเขียนให้สุภาพมากขึ้น เช่น メールしました เป็น メールをお送りしました。
卒論 น่าจะเขียนเต็มๆว่า 卒業論文 จะดูดีกว่าเพราะเป็นการเขียนอย่างเป็นทางการ เป็นต้น

แต่ว่าหนังสือเล่มนี้แปลมาจากหนังสือของคนญี่ปุ่น จึงเป็นไปได้ว่าคำในตัวอย่างนั้นก็สุภาพเพียงพอแล้ว หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อให้นักเรียนต่างชาติได้เรียนรู้ และศึกษาการเขียนอีเมล์ตามธรรมเนียมและวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นอย่างถูกต้อง จึงไม่จำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตมากนัก

ในความคิดของผมนั้นเพียงแค่จำและทำตามรูปแบบนี้ก็น่าจะดีพอแล้ว

เมื่อลองเทียบจากตัวอย่างอีเมล์ของผมเองเมื่อ 2 ปีที่แล้วนั้น แตกต่างอย่างสิ้นเชิง

〇〇先生へ      

僕はタイのアノンです。先生はお元気ですか?先週の木曜日(6日)に文部省の奨学金試験の結果が出ました。僕は合格しました!一年間日本に留学することになりました。本当に嬉しかったです。僕はこんなことができたのは先生のおかげ違いないです。感謝しております。

ではまた連絡します

アノンより

นอกเหนือจากแกรมมาร์ที่มีผิดอยู่บ้างแล้ว รูปแบบการเขียนก็ไม่เป็นทางการเลย
ถึงแม้ว่าวัตถุประสงค์ของการส่งอีเมล์จะแตกต่างกันก็ตาม แต่รูปแบบของเมล์ของผมเป็นเหมือนอีเมล์ที่ส่งให้เพื่อน คือ แนะนำตัวว่าเราเป็นใคร ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ แล้วเข้าเรื่องทันที

สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าเป็นอาจารย์ที่ค่อนข้างสนิท แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่เหมาะสมที่จะเขียนอีเมล์แบบนี้อยู่ดี อย่างน้อยควรจะมีเกริ่นอะไรเล็กน้อย และน่าจะเปลี่ยนคำแทนตัวจาก 僕 เป็น 私 จะเหมาะกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น